เอกสารอ่านเพิ่มเติม รายวิชา โลกดาราศาสตร์ ม. 6
|
ดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์ (Stars หรือ Fixed stars) เป็นดาวที่มีแสงสว่าง และพลังงานในตัวเอง เช่น ดวงอาทิตย์ จุดกาเนิดดาวฤกษ์ จากการศึกษาของนักดาราศาสตร์พบว่าการเกิดดาวฤกษ์อุบัติขึ้นในบริเวณที่ลึกเข้าไปในกลุ่มเมฆ ฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเรียกว่า เนบิวล่า (Nebular) โดยจะเกิดจากอะตอมของก๊าซที่รวมตัวกันเข้าเป็นเมฆมืดขนาดยักษ์ มีขนาดกว้างใหญ่หลายร้อยปีแสง แรงโน้มถ่วงจะดึงก๊าซและฝุ่นเข้ารวมกันเป็นก้อนก๊าซที่อัดแน่นหมุนรอบตัวเองจนใจกลางมีอุณหภูมิสูงมากพอ จนเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ การศึกษาดาวฤกษ์จะเป็นการศึกษาความสว่าง, สีความสว่างและโชติมาตรของดาว โดยทั่วไปดาวจะปรากฏสว่างมากหรือน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสว่างจริงเพียงอย่างเดียวแต่ขึ้นอยู่กับระยะทางของดาว จึงนิยามความสว่างจริงของดาวเป็นโชติมาตรสัมบูรณ์สีของดาวฤกษ์ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของดาวแต่ละดวง ดาวฤกษ์เป็นก้อนก๊าซสว่างที่มีอุณหภูมิสูง ดังนั้นพลังงานที่เกิดขึ้นภายในดวงจะส่งผ่านออกทางบรรยากาศที่เรามองเห็นได้ เรียกบรรยากาศชั้นนี้ว่า ชั้นโฟโตสเฟียร์พร้อมทั้งการแผ่รังสีอินฟราเรด, รังสีอุลตราไวโอเลต, เอกซเรย์ รวมทั้งคลื่นวิทยุ และคลื่นแสงที่ตามองเห็น การพิจารณาอุณหภูมิของดาวฤกษ์กับสี พบว่าอุณหภูมิต่าจะปรากฏเป็นสีแดง และถ้าอุณหภูมิสูงจะปรากฏเป็นสีน้าเงินและกลายเป็นสีขาว โดยมีการกาหนด ดาวสีน้าเงิน ที่มีอุณหภูมิสูงเป็นพวกดาว O ส่วนดาวสีแดงเป็นพวก M และเมื่อเรียงลาดับอุณหภูมิสูงลงไปหาต่า สเปคตรัมของดาว ได้แก่ O - B - A - F - G - K - M ดวงอาทิตย์จัดเป็นพวก G ซึ่งมีอุณหภูมิปานกลาง 4.3 อุณหภูมิและสีของดาวฤกษ์ นักวิทยาศาสตร์พบว่าสีของดาวฤกษ์มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิพื้นผิวของดาวฤกษ์นั้นๆ โดยดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิพื้นผิวต่าจะมีสีแดง ส่วนดาวฤกษ์ที่มีอุณภูมิพื้นผิวสูงจะมีสีน้าเงิน นอกจากนี้ในกรณีที่ดาวฤกษ์นั้นไม่ใช่ดาวยักษ์ ขนาดของดาวฤกษ์ก็จะเกี่ยวข้องกับสีของดาวเช่นกัน โดยดาวฤกษ์มวลมากจะมีสีน้าเงิน ส่วนดาวฤกษ์มวลน้อยจะมีสีแดง การแบ่งสีของดาวฤกษ์ สีของดาวฤกษ์แบ่งได้เป็น 7 ระดับ ตามระดับอุณหภูมิความร้อน จากมากไปน้อยตามลาดับ ดังนี้O-B-A-F-G-K-M ซึ่งมีวิธีการจาง่ายๆ คือ "Oh Be A Fine Girl(Guy) Kiss Me" O = สีน้าเงิน B = สีน้าเงินแกมขาว A = สีขาว F = สีขาวแกมเหลือง G = สีเหลือง K = สีส้ม M = สีแดง (สาหรับดวงอาทิตย์ของเรา ถูกจัดอยู่ในกลุ่มดาวฤกษ์สีเหลือง) จากข้อมูลและภาพถ่ายและบันทึกคลื่นแสงของดวงดาว จานวนมากมายเหล่านี้ ก็ถูกนามาจาแนกแยกดวงดาวเป็นกลุ่มเป็นพวก เมื่อเอามาเปรียบเทียบกับความเข้าใจทางฟิสิกส์ เกี่ยวกับธรรมชาติของอะตอมแล้วก็พบว่าดวงดาวนั้นหาใช่สิ่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ แต่กลับมีวิถีชีวิตที่คาดคะเนได้ ปัจจัยที่ทาให้วิถีชีวิตของดวงดาวต่างกันไป ก็อยู่ที่จานวนมวลของมันเท่านั้น หากดาวมีมวลน้อยก็จะดาเนินชีวิตไปแบบหนึ่ง หากมีมวลมากก็จะดาเนินชีวิตแตกต่างกันออกไป เราสามารถนาข้อมูลเหล่านี้มาคาดการณ์อนาคตและหาอายุของดวงดาวที่เราสังเกตการณ์ได้ เราจึงได้ศึกษาความเปลี่ยนแปลงของดวงดาวจนได้เข้าใจว่าดวงดาวมิใช่สิ่งที่มีชีวิตอยู่ชั่วนิรันดร์ หากแต่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เฉกเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง ช่วงชีวิตของดวงดาว ที่จะกล่าวโดยละเอียดต่อไปนั้น จะผ่านขั้นตอนดังนี้ 1. มวลสารต่างๆในจักรวาลเกิดขึ้นมาเป็นดวงดาวในภายหลัง 2. ดาวก่อนเกิด หรือ ช่วงวัยที่เรียกว่า Protostar และดาวเพิ่งคลอดที่เรียกว่า T-Tauri เพราะดาวชนิดนี้ที่ได้พบเป็นครั้งแรกในกลุ่มดาววัว (Taurus) 3. ดาวที่เป็นดาวอย่างสมบูรณ์แล้ว ซึ่งนักดาราศาสตร์เรียกว่า Main Sequence Star 4. ดาวสลาย คือดาวที่เผาจนหมดเชื้อเพลิงในแกนกลางแล้ว
หรือ ดาวน์โหลดตามเอกสารแนบ
|
ดาวน์โหลดไฟล์
|
โพสเมื่อ :
28 ก.ค. 2556,14:49
อ่าน 10748 ครั้ง
|